Cooperation

CEDI ได้รับความไว้วางใจในการมีส่วนพัฒนา
ผู้ประกอบการร่วมกับหลายหน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการ
นำผู้ประกอบการไทยให้เจริญเติบโต แข็งแกร่ง และปรับตัวให้ทัน
ต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโลก

 
  • BABSON COLLEGE

    BABSON COLLEGE

    Babson College ได้รับการจัดอันดับจาก U.S. News Report และ World Report ให้เป็นสถาบันอันดับ 1 ทางด้านผู้ประกอบการติดต่อกันเป็นเวลา 18 ปีซ้อน นอกจากนั้น Babson College ยังได้รับการจัดอันดับจาก The Financial Times และ Princeton Review ให้เป็นสถาบันอันดับ 1 เกี่ยวกับผู้ประกอบการเช่นเดียวกัน

    Babson College ยังเป็นสถาบันแรกที่มุ่งมั่นในการวางกลยุทธ์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับผู้ประกอบการตั้งแต่กลางปี 1970 จนถึงปัจจุบัน Babson College เป็นสถาบันที่มุ่งมั่น และทุ่มเทเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย ผู้ประกอบการที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังได้รับการโหวดให้เป็นสถาบัน เกรด A เรื่องคุณภาพการเรียน การสอนจากเหล่านักศึกษา ซึ่งทำการวิจัยโดยนิตยสาร Bloomberg Businesss อีกด้วย

    มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Global Consortium for Entrepreneurship Education (GCEE) ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ Babson College ตั้งแต่มกราคม 2011 ในความร่วมมือนี้ Babson College จะสนับสนุนและร่วมดำเนินการจัดตั้ง School of Entrepreneurship ในประเทศไทยต่อไป สถาบันฯ ที่ได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิก GCEE ได้ถูกคัดสรรเป็นอย่างดีแล้วว่า เป็นสถาบันฯ ที่ร่วมพันธกิจ และมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับผู้ประกอบการให้เป็นเลิศ ดังนั้นการทำงานผ่านโครงการนี้ Babson College และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาหลักสูตรในเชิงศาสตร์ และศิลป์ , ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง, รังสรรค์ความร่วมมือระหว่างประเทศ, ร่วมมือกับนานาประเทศในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้, และรวบรวมกรณีศึกษาที่ดีที่สุดในด้านผู้ประกอบการ กระบวนการที่ได้รับมอบหมายเหล่านี้จะนำไปสู่การจัดทำโครงสร้าง ทั้งในการการสอน และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการชั้นเลิศทั้งสิ้น

    และในด้านการสนับสนุนจาก Babson College นี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสร้าง School of Entrepreneurship โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย แต่อาเซียนเป็นเป้าหมายสูงสุด โดยในระหว่างนี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ CEDI เพื่อกระตุ้นจิตวิญญานผู้ประกอบการ และเน้นให้ทุกภาคส่วนเล็งเห็นความสำคัญของผู้ประกอบการทั่วประเทศไปด้วยพร้อม ๆ กัน

  • BANGKOK BANK

    BANGKOK BANK

    ธนาคารกรุงเทพริเริ่มและเล็งเห็นถึงความสำคัญกับภาคธุรกิจ SME ด้วยการสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ตอบสนองความต้องการและสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ อีกทั้งการ จัดกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ในการส่งเสริมให้ธุรกิจ SME ในประเทศไทยสามารถพัฒนา และก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง โดยธนาคารกรุงเทพได้ริเริ่ม 'โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ขึ้นมาควบคู่กับการพัฒนาธุรกรรมทางการเงินของ ธนาคาร ตั้งแต่ปีพ.ศ.2542 นับเป็นผู้บุกเบิกและสร้างสรรค์โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ทุกประเภทในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น กิจกรรมด้านความรู้เพื่อสนับสนุน SME การ พัฒนาหลักสูตรอบรม สาหรับผู้ประกอบการ การจัดประชุมสัมมนาทั่วไป และประจำปี โครงการความร่วมมือพันธมิตรนวัตกรรมและการเรียนรู้ รวมถึงการรวมกลุ่มผู้ประกอบการจนสามารถก่อตั้ง เป็นชมรมบัวหลวงSME ในขณะเดียวกันธนาคารพร้อมให้การสนับสนุนการขยายธุรกิจแก่ผู้ประ กอบการในทุกอุตสาหกรรม ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME ในรูปแบบต่างๆ ภายใต้ วิสัยทัศน์ของธนาคารกรุงเทพที่ว่า

    “ความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำทางการเงินในประเทศ พร้อมทั้งก้าวเป็นธนาคารระหว่างประเทศผู้นำแห่งภูมิภาคเอเชีย เพื่อบรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว ธนาคารจึงให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม เพื่อมั่นใจว่าลูกค้าทุกคนจะได้รับบริการที่ดีที่สุด”

    ธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับ CEDI เปิดโครงการ: “Bualuang Smart Family Enterprise เพื่อนคู่คิดธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น” โดยการจัดการสำรวจสุขภาพธุรกิจเอสเอ็มอีที่เป็นกิจการครอบครัว ซึ่งเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร และ จัดหลักสูตรเพื่อการบริหารจัดการด้านความแตกต่างทางความคิด วิสัยทัศน์ผู้บริหาร และ แนวคิดในการจัดองค์กรให้มีช่องว่างน้อยที่สุด (Bridging The Generational Gap) เพื่อการสืบทอดธุรกิจและความมั่งคั่ง จากรุ่นสู่รุ่นอย่างราบรื่น และมีประสิทธิผล (Trans-generational Wealth Creation)

  • mai

    mai

    ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment - MAI) เป็นตลาดทุน เพื่อให้กิจการต่างๆ สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้ โดยจะเน้นไปที่กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี - SME) และกิจการเกี่ยวกับนวัตกรรม โดยได้ผ่อนผันหลักเกณฑ์ต่างๆ ลง เช่น ทุนชำระแล้วขั้นต่าของหลักทรัพย์ในตลาดของตลาดใหม่ เป็นเงิน 40 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้กิจการขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ได้มีหนทางในการระดมทุน รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมการร่วมลงทุน (venture capital) เพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ มีนโยบาย คือ ต้องการสนับสนุนการประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอีให้เข้ามาระดมทุนในตลาดเอ็ม เอ ไอ มากยิ่งขึ้น เพราะช่วยให้บริษัทมีแหล่งเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจที่หลากหลาย และมีต้นทุนการประกอบธุรกิจที่ต่ำลง รวมถึง ถ้ามีบริษัทใหม่เข้ามาระดมทุนมากขึ้น จะช่วยกระตุ้นการลงทุนให้คึกคักมาก โดยปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนในตลาด เอ็ม เอ ไอ ประมาณ ร้อยละ 90 เป็นธุรกิจของครอบครัว

    ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment - MAI) ร่วมกับ CEDI ในการจัดทำโครงการ “mai Role Model for Entrepreneur” เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เข้ารับการอบรมด้านการเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เพื่อเสริมองค์ความรู้ด้าน Family Enterprising และ Trans-generational Wealth Creation และ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ในการบริหารจัดการธุรกิจตามมาตรฐานบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ พร้อมทั้งการร่วมกันจัดเตรียมสถานที่ในอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นที่ประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารของผู้ประกอบการที่เข้ารับการอบรมจาก CE-DI และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เพื่อให้คำปรึกษา คำแนะนา หรือ แลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ตามที่จะนัดหมายกันเป็นครั้งๆไปเพื่อสร้างและเสริมศักยภาพผู้ประกอบการทางด้านฐานทุน

  • NBTC

    NBTC

    สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ สำนักงาน กสทช. (NBTC) มีวิสัยทัศน์ส่งเสริมให้กิจการโทรคมนาคมไทยเข้มแข็ง แข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ประชาชนมีส่วนร่วม มีบริการโดยทั่วถึง รองรับการหลอมรวมเทคโนโลยีสู่มาตรฐานสากลอย่างยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนโดยรวม

    ทั้งนี้กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมไทยโดยเฉพาะในท้องถิ่นชนบทห่างไกลในด้านต่างๆอย่างยิ่ง อาทิ การใช้โทรคมนาคมเพื่อพัฒนาการศึกษา การเกษตรกรรม การสาธารณสุข การสื่อสาร หรือด้านโลจิสติกส์ ซึ่งส่งผลโดยตรงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรคมนาคม หรือ การให้ความรู้แก่ผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ที่เน้นในด้านการบริหารจัดการธุรกิจ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่อย่างสร้างสรรค์ จะเป็นการเพิ่มศักยภาพ และเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จทางธุรกิจให้แก่เจ้าของกิจการเหล่านั้น

    สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ สำนักงาน กสทช. (NBTC) ร่วมกับ CEDI จัดการอบรมตามโครงการ “กสทช. สร้างผู้ประกอบการชั้นเลิศในธุรกิจการกระจายเสียง การโทรทัศน์ และการโทรคมนาคม” เพื่อพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจดังกล่าวจาก กสทช. ในด้านการจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประสบความสาเร็จ มีการเติบโตต่อเนื่อง และเป็นผู้ประกอบการชั้นเลิศในอนาคต และเพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจจะเป็นผู้ประกอบการด้านการกระจายเสียง การโทรทัศน์ และการโทรคมนาคม เข้ามารับการอบรม เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมชั้นเลิศในอนาคต